แฟ้มสะสมงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2562
วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
สรุปตัวอย่างการสอน
ตัวอย่างการสอนเรื่องคณิตศาสตร์ปฐมวัยตัวเลขกับเด็กอนุบาล
ครูที่โรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮมมีวิธีอย่างไรในการสังเกตการณ์เด็ก ๆ และวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลและเตรียมประถม
ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย ในรายการ ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย
สรุปบทความ
บทความเรื่องเสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่ตัวเลข
คณิตศาสตร์ ถือเป็นพื้นฐานวิชาหรือพื้นฐานในการเรียนรู้สาระวิชาอื่นๆ ในขั้นสูงต่อไปในอนาคต
ซึ่งคุณต้องเข้าใจนะครับว่า ‘คณิตศาสตร์ไม่ใช่ตัวเลข’ แต่คณิตศาสตร์เป็นตรรกะอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจัดการปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมการเรียนคณิตศาสตร์ของหนูวัยอนุบาลนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กๆ ว่าบางครั้งเด็กๆ ต้องการการเรียนรู้แบบตอกย้ำซ้ำทวน ต้องฝึกฝนทำบ่อยๆ นี่คือทักษะ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นทักษะการเรียนรู้ที่ต้องทำซ้ำๆ บ่อยๆ จริงอยู่ที่เราต่างหวังผลที่คำตอบ แต่อันที่จริงแล้วสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่กระบวนการคิดที่ได้มาของคำตอบต่างหาก ที่สะท้อนว่าเด็กๆ มีวิธีคิดอย่างไร
อ้างอิง www.rakluke.com
บันทึกครั้งที่14
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30
ทบทวนเรื่องแผนการสอนหน่วย ผีเสื้อ เนื่องจากยังมีข้อผิดพลาดอยู่หลายจุด
อาจารย์ได้แนะนำและเสนอวิธีแก้ไขดังนี้..
1.ตั้งปริศนาคำทายให้เด็กตอบ
2.ให้เด็กลองสังเกตลักษณะด้วยตาก่อน เช่น สี รูปทรง เป็นลำดับแรกถามเด็กและบันทึกลงในตาราง
3.ให้เด็กได้ลองสัมผัสพื้นผิว ดมกลิ่น รูปร่าง ถามเด็กและบันทึกลงในตาราง
4.ต้องมีการสรุป ว่ามะละกอแต่ลืะชนิดมีคว่ามแตกต่างกันอย่างไร
ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สอนในวันอังคาร ดังนี้
1.เตรียมกระดาษ เอ4 ต่อกัน2แผ่นให้ยาว 2แผ่นต่อกันเป็นแนวตั้ง
2 สีเมจิคสีดำ
3.เตรียมดินสอและปากกาเคมีสีอะไรก็ได้ที่เป็นเครื่องเขียนที่หาได้
ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจฟังที่อาจารย์บอกอธิบาย
ประเมินอาจารย์: อธิบายการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อย่างระเอียด
บันทึกครั้งที่13
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30
เนื้อหาที่เรียน
เริ่มเรียนวันนี้ อาจารย์ได้สอนนักศึกษาร้องเพลง เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนเด็กปฐมวัย
การสอนโดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างกลุ่มผีเสื้อมาให้นักศึกษาดู และบอกวิธีการทำแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ก็จะอธิบายว่าควรจะจัดกิจกรรมอะไรในวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ เป็นการแนะนำนักศึกษาว่ากิจกรรมอะไรควรจัดในวันนั้นๆ และจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบไหน ใช้เทคนิคอะไรในการเสริมประสบการณ์เด็ก อาจารย์บอกวิธีการปรับแก้แผนให้ถูกต้อง
คำศัพท์
1. Rice ข้าว
2. Plastic glass แก้วพลาสติก
3. Pen ปากกา
4. Paper กระดาษ
5. Magic pen ปากกาเมจิก
ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อธิบายสั้ันและกระชับ
ประเมินเพื่อน : มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และปฏิบัติกิจกรรม
บันทึกครั้งที่12
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30
เนื้อหาที่เรียน
วันนี้อาจารย์ทบทวนเรื่องการเขียนแผนการเรียนหน่วยผีเสื้อ เพราะยังมีข้อผิดพลาดอยู่ และสอนว่าการสอนเด็กจะสอนอย่างไร(แผนวันอังคาร)เรื่องลักษณะ โดยใช้เรื่องเครื่องเขียนเหมือนเดิม โดยเริ่มจากการตั้งปริศนาคำทาย และให้เด็กได้ลองสังเกตด้วยตาเปล่า ถามเด็กโดยที่ครูบันทึกลงตารางและสุดท้ายคือการสรุปว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
คำศัพท์
1.corner มุม
2.Math corner มุมคณิตศาสตร์
3.Learning media สื่อการเรียนรู้
4.classroom ห้องเรียน
5.explain อธิบาย
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดมุมคณิตศาสตร์
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆค่อนข้างจะตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายในเรื่องต่างๆรวมทั้งเรื่องที่แก้แผนการเรียนรู้
วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
บันทึกครั้งที่11
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเเละสอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเเก้ไขเเผนประสบการณ์จากการเรียนครั้งที่แล้วเนื่องจากต้องเพิ่มเติมเนื้อหาในเเต่ละวันเช่น สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้
จากหนังสือหลักสูตร มีสาระการเรียนรู้ 2 กลุ่ม คือ
1.สาระที่ควรเรียนรู้(4กลุ่มสาระ)
2.ประสบการณ์สำคัญ
คำศัพท์
1.Modify เเก้ไข
2.Error ผิดพลาด
3. experience ประสบการณ์
4.Learning สาระการเรียนรุ้
5.Proceed ดำเนินการ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายการแก้แผนการเรียนรู้อย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจและทำงานได้อย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินตัวเอง : มีไม่เข้าใจเนื้อหาบ้างแต่ตั้งใจเรียนรู้เพื่อแก้ไขและปรับปรุง
บันทึกครั้งที่10
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30
เนื้อหาที่เรียน
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย (คณิตศาสตร์)
องค์ประกอบของการเขียนแผนจัดประสบการณ์
▸วัตถุประสงค์
▸สาระที่ควรเรียนรู้
▸เนื้อหา
▸แนวคิด
▸ประสบการณ์สำคัญ
▸กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
▸บูรณการทักษะรายวิชา
▸กิจกรรมเสริมประสบการณ์
แผนการสอนวันศุกร์
คำศัพท์
1.Learning unit : หน่วยการเรียนรู้
2.Material : เนื้อหา
3.Concept : แนวคิด
4.The Objective : วัตถุประสงค์
5.Experience plan : แผนประสบการณ์
การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและบันทึกตามอาจารย์สอน
เพื่อนำมาแก้ไขในการเขียนแผนของตนเอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนไปทีละขั้นตอน ทำให้รู้ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนและเข้าใจง่าย
บันทึกครั้งที่ 9
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30
ดูความเรียบร้อยของการทำ blogger หรือแฟ้มสะสมผลงาน
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
บันทึกครั้งที่8
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 9 มีนาคม 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
เป็นการเรียนเกี่ยวกับการทำมายแมบที่เป็นห่วยการสอน สำหรับเด็กปฐมวัย
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ผีเสื้อ
1.ชนิด
2.ลักษณะ
3.กา่รดูแลรักษ
4.ประโยชน์
5.ข้อระวัง
โดยจะให้บูรณาการเข้ากับการเรียนรู้สาระคณิตศาตร์ในแต่ละวัน
วันจันทร์
ประเภทของผีเสื้อ
-ผีเสื้อกลางวัน
-ผีเสื้อกลางคืน
วันอังคาร
-ลักษณะของผีเสื้อ
วันพุธ
-การดำรงชีวิตของผีเสื้อ
วันพฤหัสบดี
-ประโยชน์/ข้อควรระวัง
วันศุกร์
-ความงามของผีเสื้อ
คำศัพท์
1.subsistence การดำรงชีวิต
2.Rank ลำดับขั้น
3.Mathematics คณิตศาสตร์
4.Duration ระยะเวลา
ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายราละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเรื่องการบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์เข้ากับหน่วยการเรียนรู้
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายราละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเรื่องการบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์เข้ากับหน่วยการเรียนรู้
ประเมินพื่อน : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์และพยายามเขียนมายแมพออกมา
บันทึกครั้งที่7
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
การทำ mind mapping ที่ดี
1.วาดจุดกึ่งกลางของกระดาษ เพราะพื้นที่ว่างตรงกลางแผ่นกระดาษนั้นทำให้สมองเรารู้สึกถึงความมีอิสระพร้อมที่จะสร้างสรรเพิ่มเติมได้อย่างเต็มที่
2.ใช้รูปภาพหรือจะวาดรูปประกอบ เพราะรูปภาพนั้นสื่อความหมายได้มากมาย
3.เล่นสีเยอะๆ เพราะสีสันที่สดใส จะทำให้สมองเราตื่นตัว รู้สึกตื่นเต้น ดูมีชีวิตชีวาน่าอ่าน
4.วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลางต้องให้เส้นเชื่อมต่อกันเพื่อให้สมองเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน
5.วาดเส้นโค้งเข้าไว้สมองเราอ่อนไหวน ไม่ชอบอะไรที่ทื่อๆ ตรงๆ หรอกครับ และที่สำคัญคือ มันสวย
6. เขียนคีย์เวิร์ดบนเส้นกิ่งอย่าไปเขียนใต้กิ่ง หรือเว้นว่างๆ ไว้เพราะมันจะทำให้เราคิดแบบไม่ต่อเนื่อง พยามหาคำโดนๆ สั้นๆ เพื่อให้เราจำง่ายดีกว่าครับ
7.ให้เขียนหัวข้อวนไปทางขวา
คำศัพท์
1. Mind Map ผังความคิด
2. Blend ผสมผสาน
3. Integration บูรณาการ
4. analyze วิเคราะห์
5. experience ประสบการณ์
บันทึกครั้งที่6
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
มีความรู้เชิงคณิตศาสตร์
1.จำนวนนับ 1 ถึง 30
2.เข้าใจหลักการนับ3.รู้จักตัวเลขฮิดอารบิกและตัขเลขไทย
4.รู้จักค่าจำนวน
5.เปรียบเทียบเรียงลำดับ
6.การรวมและการแยกกลุ่ม
อาจารย์ให้จับกลุ่มสามคนเพื่อนจะทำสร้างไม้เป็นรูปเรขาคณิตต่างๆ (2 มิติและ3มิต) โดยจะมีดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อให้รู้ว่ามันมุม
เพลง:หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน
อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็บวัน
หนุ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
คำศัพท์
Day วัน
Month เดือน
Year ปี
Triangle รูปสามเหลี่ยม
Geometry รูปเรขาคณิต
ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อธิบายและสอนร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ประเมินตนเอง : ตั้งใจร้องเพลงและต่อไม้เป็นรูปต่างๆ
ประเมินเพื่อน : ช่วยกันต่อไม้ให้เป็นรูปทรงต่างๆ
บันทึกครั้งที่5
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
เทคนิคทางคณิตศาสตร์การใช้เพลง
นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาว สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่าจบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ
คำคล้องจอง หนึ่ง-สอง-สาม
หนึ่ง สอง สาม เป็นยามปลอด สี่ ห้า หก ลอดรั้วออกไป
เจ็ด แปด เก้า แดดแจ่มใส สิบ สิบเอ็ด ไวไววิ่งไล่กัน
สิบสอง สิบสาม รีบย่องกลับ สิบสี่ สิบห้า หลับแล้วฝัน
สิบหก สิบเจ็ด ตกเตียงพลัน สิบแปด สิบเก้า ยี่สิบ นั้นฉันหัวโน
คำศัพท์
1. Number จำนวน
2. Music เพลง
3. Left had มือซ้าย
4. Right hand มือขวา
5. Fingers นิ้วมือ
การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน เเละร้องเพลงตามจังหวะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนช่วยกันร้องเพลง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ละเอียด เเละสอนร้องเพลง
บันทึกครั้งที่4
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 27มกราคม 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
เทคนิคจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
1.นิทาน
2.ปริศนาคำทาย
3.บทบาทสมมุติ
4เกม
5.เพลง
6.คำคล้องจอง
สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ 6 สาระการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
-จำนวน กรเปรียบเทียบ การรวมและแยกกลุ่ม
สาระที่ 2 การวัด
- การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน เช่น การใช้นิ้ว มือ ฝามือ ศอก เชือก
สาระที่ 3 เรขาคณิต
-ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ระหว่า เป็นคำที่บอกตำแหน่ง ทิศทาง
สาระที่ 4 พีชคณิต
-แบบรูปแบบความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถาม นำเสนอเป็นรูปภาพหรือกราฟ
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิต
- มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
คำศัพท์
1.Learning สาระการเรียนรู้
2.Between ระหว่าง
3.Geometry เรขาคณิต
4.Skills ทักษะ
5.Measuring การวัด
ประเมิน
ประเมินตนเอง : จดในสื่งที่อาจารย์บอก
ประเมินเพื่อน : ฟังและช่วยกับตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ : อธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
บันทึกครั้งที่3
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
ตัวกลางที่ทำให้เด็กมีความแตกต่างกัน
1.การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่
2.สิ่งแวดล้อม
3.ร่างการ ภาะของเด็ก
4.พื้นฐานของครอบครัว
5.ค่านิยม วัฒนธรรม
การจัดการเรียนการสอน ต้องขึ้นอยู่กับลำดับอายุของผู้เรียน
ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทรับรู้และเคลื่อนไหว แรกเกิด-2ปี ขั้นของประสาทสัมผัสทั้ง5
ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด 2-7ปี แบ่งเป็น2ช่วง
-2-4ปี เป็นขั้นอนุรักษ์ เด็กจะเด่นเรื่องของภาษา พูดตามที่เห็น
-4-7ปี เป็นขั้นที่เด็กมีเหตุผลมากขึ้นกว่าดิม
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
- ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
ส่วนสมองมีหน้าที่ซึมซับข้อมูลที่เรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือและเครื่องมือที่ใช้คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำแล้วจะต้องมีความสุข
ส่วนสมองมีหน้าที่ซึมซับข้อมูลที่เรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือและเครื่องมือที่ใช้คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำแล้วจะต้องมีความสุข
คำศัพท์
Number ตัวเลข
Matching การจับคู่
Brain สมอง
Instrumentality วิธีการ
Culture ประสบการณ์
ประเมิน
ประเมินครู : อธิบายการทำงานของสอมงและพัฒนาการของเด็กขั้นต่างๆ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังที่อาจารย์บอก
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและจดลงในสมุดบันทึก
บันทึกครั้งที่2
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กในแต่ละระดับอายุของเด็กเปรียบเทียบพัฒนาการเป็นรูปแบบขั้นบันได
การจัดประสบการณ์ คือ ให้เด็กลงมือทำด้วยตนเองโดยการใช้ ประสาทสัมผัสทั้ง5 คือ
การวัดและประเมินผล- การเรียนรู้ เป็นประสบการณ์ตรงที่กระตุ้นการทำงานของสมองเด็กโดยตรง
- การประเมิน เป็นการพยายามวัดผลการพัฒนา/การเรียนรู้ในเวลาที่กำหนด
กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
- การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
- การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากัน
- การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
- ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
- ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด
- ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
- ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
- ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
- Assimilation = การซึมซับ
- Accommodation = การปรับ
- Equilibration = การเกิดความสมดุล
- Movement = การเคลื่อนไหว
- Brain = สมอง
การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังแล้วจดที่อาจารย์อธิบายให้ฟัง
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังไม่เข้าใจก็ถามอาจารย์
ประเมินอาจารย์ : พูคเร็วไปนิดนึง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันจันทร์ ที่ 9 มีนาคม 2563 เวลา 08.30-12.30 น. เนื้อหาที่เรียน เป็ นการเรียนเกี่ยวกับการทำมายแมบที่เ...
-
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม 2563 เวลา 08.30-12.30 น. เนื้อหาที่เรียน การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติ...
-
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม 2563 เวลา 08.30-12.30 น. เนื้อหาที่เรียน ตัวกลางที่ทำให้เด็กมีความแต...